ตถตา

ตถตา

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิถีปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ ๓๗ ประการ


ขอนอบน้อมแด่พระอวโลกิเตศวร
ท่านเห็นสรรพสิ่งไม่มาและไม่ไป
กระนั้นท่านยังขวนขวาย
เพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์อย่างแน่วแน่
ข้าแด่ครูผู้ยิ่งใหญ่และเทพผู้พิทักษ์เชนเรสิก
ข้าขอคารวะแด่ท่านด้วยกายวาจา ใจ

ข้าแต่พระสัมมาสัมพุทธะทั้งปวง
ผู้เป็นแหล่งกำเนิดของประโยชน์และความสุข
อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมอย่างจริงแท้
ซึ่งต้องอาศัยความรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร
ณ บัดนี้ ข้าจะอธิบายวิถีปฏิบัติต่าง ๆ ของพระโพธิสัตว์

เช้าวันนี้ที่สวนโมกข์กรุงเทพ

เช้าวันนี้ที่สวนโมกข์กรุงเทพ : พึ่งตนพึ่งธรรม โดย นพ.บัญชา พงษ์พานิช
๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

น้ำขึ้นพ้นพื้นไม้ภัตตศาลา เรือสามารถเข้าเทียบถึงบันไดได้แล้ว ที่ลานหินโค้ง น้ำเริ่มเอ่อขึ้นมาตามรูระบายสัก ๑๐% ของพื้นลาน สะท้อนเห็นเงา ศปภ.ที่ Enco ในน้ำมิดเลย ส่วนเกาะมะพร้าวนาฬิเกร์แม้จะมิดน้ำนานแล้ว แต่ยอดมะพร้าวทั้ง ๒ ที่เราเคยหมายให้เป็นนิมิตแห่งนิพพานธรรมยังชูใบสะพรั่งและโบกสะบัด

น้ำท่วมเท่าไหร่ให้ท่วมไป อย่าให้ท่วมจิjavascript:void(0)ตและใจของเรานะครับ หรือจะถือเป็นโอกาสสร้างเกาะเพาะหน่อนิพพานกันในขณะนี้เสียได้ยิ่งดี มีวัตถุธรรมสำหรับการเรียนรู้และเจริญสติปัญญามากมายเหลือเกิน

ท่านอาจารย์พุทธทาส กล่าวไว้ว่า คนที่เกิดในยุคอย่างนี้แหละที่เรียกว่า โลกวิปริต เราจะได้เรียนรู้ทุกข์ เพื่อให้เห็นทุกข์ จะได้ลาออกจากทุกข์กัน ท่านได้บรรยายธรรมในวันล้ออายุ เมื่อปี ๒๕๑๙ เกี่ยวกับโลกวิปริตไว้ ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะบ้านเมืองที่เกิดภัยภิบัติในยุคนี้ว่า สิ่งที่มาปรากฏแก่เรามันเข้าใจยาก และมันสร้างปัญหาอย่างที่สุด แต่เราไม่ทันมัน เพราะมันมีเสน่ห์อย่างที่สุด มันเคลือบน้ำตาลไว้มากที่สุด มันเลยเข้าใจยาก

เป็นอย่างไร ...

ท่านบอกว่า ความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุที่ส่งเสริมกิเลส ทำให้ขาดความสมดุล ทำให้ไม่สงบ ยิ่งมีมากเท่าไรก็ยิ่งสร้างวิกฤติการณ์มากเท่านั้น แต่ความเจริญในแบบพระพุทธเจ้า คือ เจริญอยู่ในหัวใจ ไม่มีกิเลส บ้านเมืองสงบสุข แต่ทำไมคนไม่ค่อยสนใจกัน

"คนที่เกิดมาเมื่อห้าหกสิบปีก่อนคงจะเห็นว่า สมัยก่อนไม่มีวิกฤติระส่ำระสายเหมือนเดี๋ยวนี้ ถอยหลังไปอีก ห้าหกร้อยปีก็ยิ่งไม่มีมากเท่านี้ เพราะเขาไม่มีความก้าวหน้านี่เอง ความก้าวหน้าของวัตถุที่เป็นเหยื่อของกิเลสตัณหา มีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งสร้างวิกฤติการณ์มากเท่านั้น"

เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติธรรมให้ต่อเนื่อง ท่ามกลางโลกวิปริต หลังจากวานนี้ เราจึงลงทุนแบกเครื่องเรือหางยาวขึ้นนกแอร์เอามาส่งที่หอฯ หลัง ศปภ.ของประเทศไทย และพบว่า ยังอีกหลายวันที่จะต้องเป็นแบบน้ำท่วมทุ่งประมาณกินเกาเหลาไร้เนื้อ หรือไม่ก็ขลุกขลิก เราจึงไม่ประมาท ที่จะเสริมทัพเรือไว้ด้วย แต่ยังมีทางเลือกที่ทุกท่านสามารถเดินทางมาหอฯ แบบแห้งได้สบายมาก โดยมาทางถนนพระราม ๖ หรือทางด่วนอะไรก็ได้ให้ถึงถนนกำแพงเพชรเลียบหน้าสถานีหมอชิต แล้วเลยไปยูเทิร์นทางเข้ากระทรวงพลังงาน ชิดซ้ายเลี้ยวเข้าที่ถนนใต้ทางด่วน มีป้าย “หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ” อย่างชัดเจนแม้ไม่ใหญ่ (ขวามือตรงปากซอยมีร้านไก่ย่างโคราช) แล้วตรงดิ่งผ่านย่านนิคมรถไฟจนถึงรั้ว ปตท.และกระทรวงพลังงาน หรือ เอ็นโก้ ที่รัฐบาลมาตั้ง ศปภ.อยู่ มีรั้วกั้นถนนข้างหน้าเพราะน้ำท่วม

หรือจะเดินเลี้ยวขวาเข้าไปในย่านเรือนพักของชาวรถไฟก็ได้ไม่กี่สิบเมตร ตรงหน้าของท่านจะมีช่องประตูเล็กๆ อยู่ในซอก เพิ่งเจาะทะลุกำแพงออกไปลงถนนทางเข้าสวนรถไฟพอดีศาลพระภูมิและป้อมมุมสนามไดรฟ์กอล์ฟที่น้ำท่วมท้นหมดแล้ว หรือจะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนจนสุดทางที่สามแยกหลังตึก ปตท.ตรงกับประตูทางเดินเข้าสวนโมกข์พอดี

ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นการเดินทาง ระหว่างการเดินทางมาที่สวนโมกข์กรุงเทพ หรือแม้แต่อยู่ในน้ำที่ท่วมขัง หากเราทำใจไม่ให้ถูกน้ำท่วม เราก็ได้ชื่อว่า กำลังเจริญสติ เพื่อลาออกจากโลกวิปริตไปด้วยกัน


ฉวยโอกาสทำความดีกันเถอะ


"เราอาสามาเก็บขยะกันกลางทะเลขี้ผึ้งครับ "

ไพโรจน์ สิงบัน อาสาสมัคร เพื่อการผลิตสื่อธรรม สวนโมกข์กรุงเทพ รายงานสดจากเรือบริเวณห้าแยกลาดพร้าว ที่ออกมาเก็บขยะที่ลอยละล่องในน้ำสีดำกับกลุ่มอาสาสมัคร "ฉวยโอกาสทำความดี" เมื่อวันที่น้ำเอ่อขึ้นมาเกือบจะมิดป้ายสวนพุทธธรรมอยู่แล้ว

ไพโรจน์เล่าว่า ตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว นอกจากที่ที่ระบายน้ำลงมาแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมของขยะที่ไหลมา ด้วยอัตราการขึ้นของน้ำประมาณ ๑๐ เซนติเมตรต่อชั่วโมง

"ขณะที่กำลังพายเรือไปเก็บขยะอยู่ ผมได้เรียนรู้ตลอดเวลา เหตุการณ์ครั้งนี้ ส่วนหนึ่งเราได้ตั้งสติกับสิ่งที่มันเกิดขึ้น ธรรมชาติหลายเรื่องมันมาเตือนเราแล้ว ถ้าเรามีสติ เราก็สามารถตั้งรับกับเหตุการณ์ได้ ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ มีการเตรียมความพร้อมกับเหตุการณ์มากว่า ๒ อาทิตย์ เราเข้าใจว่า นี่คือภัยธรรมชาติ ? เราคาดการณ์ได้จากน้ำหลากที่มาจากภาคเหนือ และส่วนหนึ่งที่รัฐบาลกำลังจัดการอยู่ เราก็เห็นข้อมูลบางอย่าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องรู้ว่า กรณีที่น้ำลงมาจากทางเหนือในครั้งนี้มีนักวิชาการหลายท่าน ที่มีข้อมูลออกมาเยอะแยะ ส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งอันนี้สำคัญมาก ทำให้เราจัดการอะไรได้ เพราะเราต้องรู้ความจริง รู้ข้อมูลที่จริงและพิสูจน์ได้

"ในกรณีของน้ำที่หลากมา ทำไมมีปริมาณมาก ก็เพราะมีการปล่อยน้ำจากเขื่อน ก็จะคำนวณได้ และเห็นเส้นทางของน้ำ ว่ามันจะไปที่ไหนบ้าง ซึ่งเป็นข้อมูลจาก ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมชลประทาน ได้บอกข้อมูลที่ชัดเจนไว้ว่า น้ำทั้งหมดที่จะทะลักเข้ากรุงเทพชั้นใน ๙๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรนั้น ไหลมาถึงห้าแยกลาดพร้าวเพียง ๑๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ยังมีมวลน้ำในปริมาณมหาศาลที่จะท่วมถึงกรุงเทพชั้นใน

"เราได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเตรียมความพร้อม เส้นทางน้ำ เมื่อหลากมาถึงกรุงเทพชั้นใน มีระยะอัตราการไหลหลากอย่างไรก็ประมาณได้ สำหรับหอจดหมายเหตุ ฯ อยู่ใกล้บึงรับน้ำ ซึ่งเป็นแก้มลิง เราก็รู้ว่าระดับของน้ำจะไหลมารวมกันที่นี่ แต่ตรงนี้ก็ยังไม่ใช่ที่ต่ำสุดของพื้นที่ ซึ่งทิศทางน้ำจะไปลงแม่น้ำเจ้าพระยา อีกทิศทางหนึ่งก็จะไปลงที่คลองลาดพร้าว เพื่อไปออกที่คลองบางซื่อ แล้วไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนหนึ่งจะไหลไปลงที่คลองแสนแสบ อันเป็นจุดที่ต่ำกว่า ดังนั้น เราก็ประมาณระดับน้ำได้ ถ้าพื้นที่สวนรถไฟ เป็นที่รับน้ำ ก็จะอยู่ในระดับความสูง ซึ่งเราอยู่สูงกว่าถนนวิภาวดี ประมาณ ๗๐-๘๐ เซนติเมตร เราคิดว่า ถ้าเพิ่มการป้องกันอีกเมตรครึ่งก็น่าจะรักษาระดับความปลอดภัยไว้ได้ ของที่อยู่ต่ำกว่า ๑ เมตร เราจะขนขึ้นสู่ที่สูงหมด "

ในเรื่องของที่เราต้องยังชีพ สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ ไพโรจน์เล่าต่อมาอีกว่า เราเตรียมอาหารมากว่าสองอาทิตย์เช่นกัน เรียกกว่าจัดการได้ เมื่อเรามีความพร้อม เราไม่ค่อยกังวล จึงสามารถไปช่วยคนอื่นได้ ที่นี่เปิดศูนย์รับบริจาคร่วมกับพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา ท่านว.วชิรเมธี สถาบันวิมุติยาลัย ฯลฯ ก็สามารถกระจายของรับบริจาค กระจายของออกไปได้มากพอสมควรก่อนน้ำท่วม คือไม่มีของเสียหาย ช่วยพื้นที่เบื้องต้นได้กว่า ๕๓ พื้นที่ อันนี้ก็ถือว่า เป็นผลงานของน้องๆ อาสาสมัคร ที่น่าชื่นชม ในสถานการณ์อย่างนี้

"การเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจ ในกรณีของทีมงานอาสาสมัคร ก็มีคุยกันเป็นประจำ มีการแนะนำ เตรียมความรู้ว่า แต่ละคนต้องพยายามช่วยเหลือตนเองให้เข้มแข็งก่อน หลักการของการจัดการกับภัยพิบัติคือ จัดการตัวเองให้เรียบร้อยก่อน แก้ปัญหาที่จะให้คนอื่นมาช่วยเราผ่านไปได้ก่อน เราก็สามารถไปช่วยคนอื่นได้ "

นอกจากนี้ เรื่องการให้สติเพื่อตั้งรับภัยพิบัติ อันนี้ ไพโรจน์บอกว่า มันสำคัญมาก เป็นธรรมะ จริง ๆ

"เราทำเรื่องสาระธรรม ปีนี้ ข้อธรรมต่างๆ ที่อาจารย์พุทธทาสพูดไว้ชัดมากว่า เรามีโอกาสดี ที่เกิดมาในโลกที่กำลังวิปริต น้ำท่วมทำให้เราได้คิดว่า ชีวิตไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นได้ทุกอย่าง ไม่ว่าที่ไหนจะแข็งแรงเข้มแข็งอย่างไร น้ำก็ทะลุทะลวงไปได้ ฉะนั้น ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องสติ ให้ดี"

สอบถามรายละเอียด กิจกรรม ตักบาตรเดือนเกิด ฟังธรรม การเจริญสติ ฝ่าวิกฤติน้ำท่วม ได้ที่อาสาสมัคร ประชาสัมพันธ์ สวนโมกข์กรุงเทพฯ โทร.๐๘-๖๖๒๔-๓๓๕๕

จากสกู๊ปข่าวของหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก
วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

for ever

for ever